วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สูตรกาแฟ

                                                           

                                           สูตรกาแฟต่าง ๆ


                                     

สตอเบอร์รี่ชวนฝัน

ส่วนผสม

  • วิปเปอร์ครีม
  • ครีมหวาน 3.5 dl (10 fl. oz.)
  • เอสเปรสโซ่เข้มข้น 1 dl (3.3 fl. oz.)
  • น้ำตาลไซรัป 0.5 dl (1.5 fl. oz.)
  • น้ำสตอเบอร์รี่
วิธีเตรียม
  • เติมเอสเปรสโซ่ที่แช่เย็นไว้แล้วกับครีมและน้ำตาลไซรัปกับวิปปิงครีม
  • ปิดให้แน่นแล้วเขย่าให้เข้ากัน
  • เขย่าประมาณ 8-10 ครั้ง
  • แช่เย็นไว้จนกว่าจะใช้
  • เติมน้ำสตอเบอร์รี่ลงไปในแก้วแล้วราดด้วยฟองครีมเอสเปรสโซ่
  • ตกแต่งให้สวยงามด้วยสตอเบอร์รี่หรือเมล็ดกาแฟ
  • นี่เองของหวานเอสเปรสโซ่สุดยอดของคุณ




องุ่นและเอสเปรสโซ่

ของหวานจานนี้เหมาะสมเป็นของหวานหลังอาหารอิตาลี่กับเนื้อย่างหรือไก่ย่างเป็นอย่างมากไม่ว่าจะทานกับชีส บิสกิตหรือโพเลนตา
ส่วนผสมสำหรับ 2-4 ที่
  • โอลีฟออยล์ 1 ช้อนโต๊ะ
  • องุ่นแดงและองุ่นขาว 500 กรัม
  • เอสเปรสโซ่เข้มข้น 70 มิลลิลิตร
  • ไวน์ขาว 150 มิลลิลิตร เช่น Sauternes หรือ Gewürztraminer
  • แท่ง cinnamon 3 แท่ง
  • น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำส้ม vinegar ครึ่งช้อนโต๊ะ
  • เนยครี่งช้อนโต๊ะ
วิธีเตรียม
อุ่นโอลีฟออยล์ในกระทะขนาดกลาง แล้วใส่ผลองุ่นลงไปผัดประมาณ 1 นาที เติมเอสเปรสโซ่ ไวน์ขาว แท่ง cinnamon และน้ำผึ้ง คนให้เข้ากันประมาณสองนาที หลังจากนั้น เอาลงจากเตา เติมน้ำส้ม vinegar และเนย คนจนกระทั่งเนยละลาย แล้วเสริฟขณะที่ร้อน




ค๊อกเทล grappa คาปูชิโน่

ส่วนผสม (สำหรับ 2 ที่)
  • Grappa 2 cl
  • เอสเปรสโซ่ร้อน 200 มิลลิลิตร
  • น้ำตาล 2-4 ช้อนชา
  • นม 200 มิลลิลิตร
  • ผงโกโก้
วิธีเตรียม
  • เติม grappa ใส่ในแก้วทรงสูง 2 แก้ว เติมน้ำตาลที่คนจนละลายเข้าที่แล้วกับเอสเปรสโซ่ 2 ช๊อต รินลงไป 2 ใน 3 ของแก้วทรงสูงที่มี grappa อยู่
  • ทำนมร้อนด้วยตัวทำคาปูชิโน่ แล้วผสมเอสเปรสโซ่ที่เหลือ ให้ระมัดระวังในการรินใส่แก้ว ด้วยการรินผ่านช้อนยาวหรือรินอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันการเกิดชั้นจากการปั่นผสม
  • ตักฟองจากการทำนมด้วยตัวทำคาปูชิโน่ใส่ลงด้านบนของเอสเปรสโซ่ แล้วโรยผงโกโก้ตกแต่ง

กาแฟขี้ชะมด

             

                                                                                                            กาแฟขี้ชะมด

กาแฟขี้ชะมด (อินโดนีเซีย: Kopi Luwak) เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากมูลของชะมด สกุล Paradoxurus (อีเห็น) บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย โดยที่อินโดนีเซียเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า Kopi Luwak (โกปิ ลูวะก์) (ซึ่งคำว่า Kupi เป็นภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า กาแฟ ส่วนคำว่าLuwak หมายถึงสัตว์กลุ่มชะมด) เมล็ดกาแฟขี้ชะมดที่มีราคาแพพงที่สุดในโลกถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 450 กรัม

                


"กาแฟขี้ชะมด" หรือ Kopi Luwak โคปิ ลูแว็ค เป็นกาแฟโรบัสต้าชนิดหนึ่ง และเป็นกาแฟแพงที่สุดในโลก เนื่องจากขบวนการผลิตอันยุ่งยาก แปลกประหลาด มีออกสู่ต้องตลาดประมาณปีละ 500 ปอนด์ต่อปี ทำให้มันมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 41,000 บาท และสามารถผลิตได้เพียงไม่กี่แห่งบนโลกนี้


ในศตวรรษที่ 18 เมื่อชาวดัทช์ยึดเกาะสุมาตรา และเกาะชวา เป็นอาณานิคม เรียกว่า Dutch East Indies พวกเขาได้ยึดเรือกสวนไร่นาเพื่อทำการเกษตรกรรมบนเกาะ ในช่วงราวปี ค.ศ. 1830-1870 หนึ่งในการ เกษตรบนเกาะก็คือไร่กาแฟ ซึ่งชาวดัทช์ได้ห้ามชาวนาและชาวพื้นเมืองเด็ดผลกาแฟสุกจากต้นไปใช้เอง แต่ชาวพื้นเมืองก็มีความต้องการที่จะดื่มกาแฟสด จึงได้พยายามหาวิธีลักลอบเด็ดผลกาแฟ



จนกระทั่งต่อมา ชาวพื้นเมืองพบว่าสัตว์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ลูวะ" กินผลกาแฟและถ่ายมูลออกมาเป็นเมล็ดกาแฟเต็มเมล็ดโดยไม่ได้ย่อยสลาย พวกเขาจึงเก็บมูลเหล่านั้น ทำความสะอาด คั่ว และบดเพื่อนำมาทำเป็นกาแฟ และพบว่ามีรสชาติแปลกใหม่ ไม่มีความขม จึงเป็นที่นิยมในหมู่ชาวพื้นเมืองอย่างมาก ต่อมาชื่อเสียงของกาแฟชนิดนี้ก็ได้แพร่กระจายไปจนกระทั่งชาวดัทช์เองเสนอให้ราคาแก่ผู้ที่เก็บขี้ชะมดได้สูงมาก นั่นเป็นที่มาของกาแฟขี้ชะมด จะเห็นว่าด้วยความหายากและการผลิตที่ยากลำบาก "กาแฟขี้ชะมด" จึงมีราคาแพงมาก แม้แต่ในสมัยยุคล่าอาณานิคม และในปัจจุบันนั่นเอง ซึ่งประเทศที่ผลิตได้ก็มีดังต่อไปนี้
ประเทศอินโดนีเซีย ที่เกาะสุมาตรา (Sumatra) , เกาะจาวา ( Java ) เกาะสุลาเวสี ( Sulawesi )
ประเทศฟิลิปปินส์ ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า Kape Alamid )
ประเทศทิมอร์ ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า kafé-laku )
ประเทศเวียดนาม ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า weasel coffee )


เคล็ดลับที่จะนำชีวิตเรามาประสบความสำเร็จ

                         
           
 
9 กลยุทธ์ในการดำเนินชีวิต
 

ชีวิตที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยเคล็ดลับขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย และเป็นความจริงที่ว่าเราเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของเราเอง เป็นคนเลือกเส้นทางชีวิต และนั่นคือสิ่งที่ยากที่สุด
เพื่อเลือกลงมือทำในสิ่งที่สำคัญตรงตามเป้าหมายในชีวิตของเรา





กฎข้อ 1 เราคือ คนเลือกที่จะเป็นผู้ประสบความสำเร็จ หรือผู้ที่ล้มเหลว
กฎข้อ 2 เราคือผู้สร้างประสบการณ์ให้ตัวเราเอง
กฎข้อ 3 ปฏิกิริยาต่างตอบแทน

กฎข้อ 4 จะแก้ไขปัญหาได้ต่อเมื่อเรายอมรับความจริงได้
กฎข้อ 5 ชีวิตนี้ให้รางวัลกับการกระทำเสมอ
กฎข้อ 6 ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับมุมมองของเรา ให้รับรู้อย่างเดียว
กฎข้อ 7 ชีวิตต้องการการบริหารจัดการจะปล่อยไปตามชะตากรรมไม่ได้
กฎข้อ 8 พลังอำนาจของการให้อภัย
กฎข้อ 9 คนเราจะได้อะไรมาอย่างน้อย ๆเราต้องรู้จักสิ่งนั้นก่อน ต้องเรียกมันให้ถูกก่อน




วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กระบวนการแปรรูปกาแฟ


                  กระบวนการแปรรูปกาแฟ (Coffee Processing)

 
 
   กระบวนการแปรรูปกาแฟ (Coffee Processing)
         อุตสาหกรรมกาแฟเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและภาคใต้  ก่อให้ เกิดการจ้างงานและเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกทางหนึ่ง โดยอุตสาหกรรมกาแฟของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปขั้นต้นที่นำเอากาแฟสดมาแปรรูปให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมและสะดวกในการนำไป ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์กาแฟต่อไป โดยอุตสาหกรรมกาแฟนั้น มีการผลิตสารกาแฟ 2 วิธีด้วยกันคือ กระบวนการแปรรูปแบบแห้ง (Dry Processing) หรือที่เรียกว่า “การสีแห้ง” และการแปรรูปแบบเปียก (Wet Processing) หรือที่เรียกว่า “การสีเปียก” กระบวนการแปรรูปแบบเปียกหรือสีเปียกจะคำนึงถึงคุณภาพผลิตภัณฑ์ในระดับสูง แต่กระบวนการแบบแห้งจะให้รสสัมผัสกาแฟที่กลมกล่อม

การเตรียมวัตถุดิบ
 การผลิตแบบแห้ง (Dry Processing)          - เริ่มต้นจากการคัดเลือกผลกาแฟ โดยการเทลงในภาชนะบรรจุน้ำ และคัดเฉพาะผลกาแฟที่ลอยน้ำเท่านั้นให้ทำการคัดทิ้งเพราะเป็นผลที่สุกเกินไป และเป็นผลแห้งหรือผลที่ถูกแมลงทำลาย จากนั้นนำผลกาแฟที่จมน้ำไปตากบนลานซีเมนต์หรือในถาด โดยการตากนั้นไม่ควรให้ความหนาของชั้นผลกาแฟมีความหนาเกิน 3 เซนติเมตร และกลับเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันการหมักและสีของผลกาแฟไม่สม่ำเสมอ
         - การกะเทาะเปลือก (Hulling) ผลกาแฟที่แห้งจะถูกกะเทาะเปลือกเพื่อเอาส่วนที่เรียกว่า Pericarb ออกโดยการใช้มือหรือใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายครกกับสากหรือใช้เครื่องกะเทาะเปลือก ซึ่งเครื่องกะเทาะเปลือกจะใช้สกรูเป็นองค์ประกอบหลักในการทำให้เปลือกส่วน Pericarb หลุดออก
         - การทำความสะอาด
(Cleaning) เมล็ดกาแฟที่ถูกกะเทาะเปลือกเรียบร้อยแล้วจะถูกนำมาทำความสะอาดโดยการใช้ลมเป่า

กระบวนการแบบเปียก (Wet Processing)

         วิธีการนี้ผลกาแฟจะถูกบีบคั้นหรือโม่โดย Pulping Machine หรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายครกกับสาก เพื่อทำให้ผิวนอกของผลกาแฟเปื่อยยุ่ย (ชั้น Mesocrab และชั้น Exocrab) ทำให้เมล็ดเกิดเป็นเมือกลื่น โดยเมือกลื่นนี้จะทำให้เกิดกระบวนการหมักและการย่อยสลาย เมล็ดกาแฟจะถูกล้างและทำแห้งต่อไป
         - การเอาเนื้อออกจากผล (Pulping) การเอาเนื้อออกจากผลหรือการโม่จะเป็นการทำให้ผิวภายนอกสีแดง (Exocrab) และส่วนเนื้อยุ่ยสีขาว (Mesocrab) หลุดออก จึงจะสามารถทำให้แยกเมล็ดออกจากผลได้ กระบวนการนี้หากผลกาแฟไม่เจริญเติบโตเต็มที่และยังมีสีเขียวอยู่จะทำให้ยากต่อการทำให้เนื้อเปื่อยยุ่ย ดังนั้นการเก็บเกี่ยวผลที่เหมาะสมสำหรับนำมาแปรรูปจึงมีความสำคัญมาก ในระดับของอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็ก ผลกาแฟจะถูกทำให้เปื่อยยุ่ยโดยใช้อุปกรณ์ที่คล้ายครกกับสาก หรือเครื่องมือที่ใช้ระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุปกรณ์ที่เหมาะสมคือ Drum Pulper , Disc Pulper


การคั่ว (Roasting)           

         การคั่วเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการผลิตกาแฟ โดยกลิ่นรสสุดท้ายของกาแฟจะขึ้นกับวิธีการ ตลอดจนสภาวะที่ใช้คั่ว โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมในการคั่วอยู่ที่ประมาณ 200 องศาเซลเซียส

การคัดเลือก (Grading)

         กาแฟจะถูกคัดเกรดตามขนาด รูปร่าง กลิ่น ความหนาแน่นและสีของเมล็ดกาแฟ โดยอุตสาหกรรมขนาดเล็กจะใช้คนในการคัดเกรด

การบด (Grinding)

         การบดเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยเครื่องบดพื้นฐานที่นิยมใช้คือ Manual Grinders ใช้คนบด และ Motorized Grinders ใช้เครื่องบด


วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิธีการปลูกกาแฟ

                               

                                  การปลูกกาแฟอาราบิก้า


 
 
ลักษณะดิน

ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร มีความเป็นกรดด่าง 5.5 - 6.5 และระบายน้ำดี

สภาพภูมิอากาศ
มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 15 - 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60 %

แหล่งน้ำ
อาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
มีการกระจายของฝน 5 - 8 เดือน
มีแหล่งน้ำสะอาดและมีปริมาณพอที่จะให้น้ำได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง

พันธุ์
พันธุ์ที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
• เป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคราสนิม
• มีลักษณะต้นเตี้ย ข้อสั้น ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ
• เป็นพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกโดยกรมวิชาการเกษตร คือ สายพันธุ์ คาติมอร์ CIFC 7963 รับกล้าพันธุ์ดีได้ที่หน่วยงานกรมวิชาการเกษตรภาคเหนือ
• ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง จ.เชียงใหม่
• ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงราย(วาวี) อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
• ศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบูรณ์ (เขาค้อ) อ. เขาค้อ จ. เพชรบูรณ์
• ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตตาก (พืชสวนดอยมูเซอ) อ. เมือง จ. ตาก

การปลูก
ต้นกล้าอายุตั้งแต่ 8 - 12 เดือน หรือ มีใบจริงไม่น้อยกว่า 4 - 5 คู่และมีความสูงประมาณ 50 เซติเมตร


                                                            • ระยะปลูก 2 x 2 เมตร

                               • ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร



               รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต อัตรา 100 กรัม/หลุม และปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม/หลุม




                                       • ปลูกภายใต้สภาพร่มเงา โดยใช้ไม้โตเร็วได้แก่
ถั่วหูช้าง (Enterolobium cyclocarpum Griseb),
พฤกษ์ (Albizia lebbeck Benth.)
ถ่อน (A.procera),
กางหลวง (A.chinensis),
สะตอ (Parikia speciosa Hassk.),
เหรียง (P.timoriana)
ซิลเวอร์โอ๊ก (Silver. Oak)
• สามารถปลูกร่วมกับไม้ผลยืนต้น เช่น บ๊วย ท้อ มะคาเดเมียนัท

ประเภทของกาแฟ


                                                            พันธุ์กาแฟในประเทศไทย

กาแฟมีมากกว่า 6,000 พันธุ์ แต่พันธุ์หลัก ๆ ที่ได้รับความนิยมมี 2 พันธุ์ ได้แก่ อาราบิก้า (Arabica) ซึ่งเป็นกาแฟแบบดั้งเดิม มีรสชาติดี และโรบัสต้า (Robusta) ซึ่งมีปริมาณกาเฟอีนสูง และสามารถปลูกในที่ที่ปลูกอาราบิก้าไม่ได้ (คำว่า robust ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ทนทาน) ด้วยความที่มีความทนทานมากกว่านี้เอง จึงทำให้กาแฟโรบัสต้ามีราคาถูกกว่า แต่ผู้คนนิยมดื่มไม่มากนักเนื่องจากมีรสขมและเปรี้ยว ส่วนโรบัสต้าที่มีคุณภาพดีมักถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของเอสเพรสโซ่ แบบผสม (เอสเพรสโซ่มีสองแบบใหญ่ ๆ คือแบบที่เป็นอาราบิก้าแท้ ๆ กับแบบที่ผสมกาแฟชนิดอื่น ๆ
 
 



กาแฟอาราบิก้า(Arabica)


ประเทศไทยสามารถปลูกไร่กาแฟอาราบิก้าได้ทางภาคเหนือโดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง, แม่ฮ่องสอนและตากกาแฟพันธุ์อาราบิก้าเจริญเติบโตที่บริเวณที่ราบสูงประมาณ 800 ถึง 1, 500 เมตร ที่ความสูงระดับนี้จะมีผลให้กาแฟเจริญเติบโตไปอย่างช้าๆซึ่งจะทำให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟที่มีรสชาติดีกว่าได้ในจำนวนมาก การเพาะกาแฟพันธุ์อาราบิก้าในประเทศไทยยังอยู่ในขั้นทดลองจึงไม่สามารถทำการเก็บเกี่ยวผลิตผลต่อปีได้มากนัก ส่วนใหญ่แล้วผู้เพาะปลูกกาแฟอาราบิก้าพันธุ์ไทย คือ เจ้าของไร่รายย่อยเช่นครอบครัวชาวเขาและชาวบ้านเช่นเดียวกับ ที่สถานีทดลอง เช่น วาวีและช้างเขียนอีกทั้งยังมีโครงการพัฒนาอีกมากมาย เมล็ดกาแฟจำนวน 200-300 ตันที่เก็บเกี่ยวได้ต่อปีถูกรับซื้อไปโดยพ่อค้าในท้องถิ่น และจากโรงงานเพื่อผลิตเป็นกาแฟเม็ดอบและกาแฟผงต่อไป











     กาแฟโรบัสต้า(Robusta)

ไร่กาแฟโรบัสต้าตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ชุมพร, ระนอง, นครศรีธรรมราช, พังงา, และกระบี่กาแฟโรบัสตาเติบโตได้ดีในที่ราบต่ำ กาแฟพันธุ์นี้ให้ข้อดีแก่ผู้เพาะปลูกมากมายเช่น ต้นกาแฟโรบัสต้าสามารถเพาะปลูกได้ง่าย, มีความต้านทานต่อการติดเชื้อสูง, สามารถที่จะทนต่ออุณหภูมิและระดับความชื้นที่สูง อีกทั้งพันธ์โรบัสตายังให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟมากกว่า และผลของมันยังสุกเร็วกว่าเมื่อเทียบกับพันธุ์อาราบิก้า อย่างไรก็ตามเมล็ดกาแฟพันธ์โรบัสตา เมื่อพิจารณาแล้วจะมีคุณภาพต่ำกว่าพันธุ์อาราบิก้าและมีราคาถูกกว่าอีกด้วยกาแฟโรบัสตาพันธุ์ไทยเป็นชนิดที่มีคุณภาพดีและมีการยอมรับอย่างกว้างขวางในนานาชาติ ตลาดส่งออกหลักของเราคือสหรัฐอเมริกา, โซนยุโรป, ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ในตลาดท้องถิ่น กาแฟโรบัสต้าได้ผ่านการแปรรูปเป็นเครื่องดื่มกาแฟกระป๋องหรือกาแฟสำเร็จรูปชนิดผงเสียส่วนใหญ่ ด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม และเทคโนโลยีการเผาเมล็ดกาแฟแบบใหม่ช่วยให้นักชิม และนักเผาเมล็ดกาแฟสามารถทำให้กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทย เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อมและมีคุณภาพดีได้





ประวัติความเป็นมาของกาแฟในไทย

                                           

                กาแฟในประเทศไทย








กาแฟโดยแหล่งกำเนิดแล้วเป็นพืชพื้นเมืองของอาบีซีเนีย (Abyssinia) และอาราเบีย (Arabia) ถูกค้นพบในศตวรรษที่ 6 ราวปี ค.ศ. 575 ในประเทศอาระเบีย (Arabia) และในขณะเดียวกันบางท่านก็กล่าวว่ากาแฟเป็นพืชพื้นเมืองที่พบในเมืองคัพฟา (Kaffa) ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเอธิโอเปีย (Ethiopia) กาแฟจึงได้ชื่อเรียกตามจังหวัดนี้ และยังได้เรียกแตกต่างกันออกไปอีกมาก แหล่งกำเนิดเดิมของกาแฟมาจากประเทศอาบีซีเนีย หรือแถบประเทศอาราเบียน หรือประเทศอาหรับ ตะวันออกกลาง สมัยนั้นไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเท่าใดนักจนกระทั่งล่วงเลยมาถึงศตวรรษที่ 9 มีการเลี้ยงแพะชาวอาราเบียคนหนึ่งชื่อ คาลดี (Kaldi) นำแพะออกไปเลี้ยงตามปกติ แพะได้กินผลไม้สีแดงชนิดหนึ่งเข้าไปแล้วเกิดความคึกคะนองผิดปกติ จึงได้นำเรื่องไปเล่าให้ชาวมุสลิมท่านหนึ่งฟัง จึงได้นำผลของต้นไม้นั้นมากะเทาะเปลือกเอาเมล็ดไปคั่วแล้วต้มในน้ำร้อนดื่มเห็นว่ามีความกระปรี้กระเปร่า จึงนำไปเล่าให้คนอื่นฟังต่อไป ชาวอาราเบียจึงได้เริ่มรู้จักต้นกาแฟมากขึ้น จึงทำให้กาแฟแพร่หลายเพิ่มขึ้นจากประเทศอาราเบีย เข้าสู่ประเทศอิตาลี เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส